1.หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม
ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมการผลิต
มีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น การเกิดตลาดใหม่ การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในภูมิภาค
และประเทศคู่แข่งทางการผลิตที่มีความพร้อมของค่าจ้างแรงงาน
สร้างผลกระทบต่อผู้รับจ้างผลิตของไทย ทั้งด้านต้นทุน คุณภาพ
และความสามารถในการผลิต ซึ่งทำให้รูปแบบการผลิตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้
มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน
เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันกับคู่แข่งในระดับภูมิภาคและระดับโลก
และสายการผลิตแบบอัตโนมัตินั้นได้มีการใช้งานกันในระบบการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเป็นปกติอยู่แล้ว
แต่มักเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่หรือมาจากการย้ายฐานหรือเทคโนโลยีการผลิตแบบอัตโนมัติมาพร้อมกับการเริ่มต้นธุรกิจ
สถานการณ์ปัจจุบันกับการเปลี่ยนแปลง
ในปัจจุบันระบบการผลิตแบบอัตโนมัติได้มีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพ และมีราคาที่ผู้ประกอบการผลิตอุตสาหกรรม ขนาดกลางและเล็กสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ และมีโซลูชั่นมากมายหลายรูปแบบ แต่การเลือกระบบอัตโนมัติ มิได้พิจารณาเฉพาะด้านต้นทุน คุณภาพ และความสามารถในการผลิต ยังมีปัจจัยเรื่องความยากง่ายในการใช้งาน การอัพเกรด การซ่อมบำรุง การใช้พลังงาน ตัวบุคลากรผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งาน เกิดความยากในการตัดสินใจเลือกใช้งาน และกังวลต่อประสิทธิภาพ หรืออาจมองไม่ครอบคลุม การพิจารณาที่ราคาต่ำอย่างเดียวจึงกลายเป็นอุปสรรคในการแข่งขันเพราะระบบที่เลือกไม่เหมาะสม นอกจากเทคโนโลยีอัตโนมัติแล้ว
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ถือเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อการผลิต
และเป็นหนึ่งในวิธีการเพิ่มความสามารถในการผลิต
ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ความสนใจในการปรับเปลี่ยนระบบอัตโนมัติเดิมมาเป็นการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในสายการผลิต
ซึ่งจากการคาดการณ์ ของ IFR
(International Federation of Robotics) ยอดขายหุ่นยนต์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น
6% โดยเฉลี่ยต่อปี จาก ปี พ.ศ.2557 ถึง ปี พ.ศ. 2559
และในปีต่อๆ
ไปอย่างต่อเนื่อง
และนั่นหมายความว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในกระบวนการผลิต
เราในฐานะแรงงานที่ต้องรับผลกระทบโดยตรงจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ผู้เขียนจึงขอนำเสนอข้อมูลความรู้ขึ้นพื้นฐานเกี่ยวกับหุนยนต์ในงานอุตสาหกรมเพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม
เป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อนำมาใช้ทดแทนคนในกระบวนการผลิตต่างๆ
หรือนำมาใช้เพื่อช่วยในกระบวนการผลิตในลักษณะหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคน ซึ่งหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างมานั้นมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องการนำมาประยุกต์ใช้งาน
สำหรับหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมนั้นสามารถแบ่งออกได้ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 7 ชนิด ดังนี้
- Cartesian Robot
- Cylindrical Robot
- Polar Coordinate Robot
- Scalar Robot
- Articulate Robot
- Spine Robot
- Parallel link Robot
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้ง 7 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะการเคลื่อนที่และความสามารถในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน
รวมไปถึงการประยุกต์ใช้งานที่ต่างกันด้วยแต่ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาด้วยหลักการพื้นฐานเดียวกัน
ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนของหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด
นั่นคือ Articulate
Robot อันเนื่องมาจากหุ่นยนต์ชนิดนี้มีความสามารถในการทำงานและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบมากกว่าขนิดอื่นๆ
นั่นเอง
Articulate Robot เป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับแขนของมนุษย์ตั้งแต่ช่วงหัวไหล่ไหลลงไป นั้นหมายความว่าหุ่นยนต์ชนิดนี้ จะมีความสามารถในการทำงานและความสามารถในการเคลื่อนที่ได้ในลักษณะที่คล้ายกับการเคลื่อนที่ของแขนมนุษย์นั่นเอง หลายๆ คนจึงมักเรียกหุ่นยนต์ชนิดนี้ว่า ‘แขนกล’
รูปที่ 1 : แสดงลักษณะ
Articulate Robot หรือ แขนกล
จากรูปที่ 1 ที่แสดงด้านบนนั้นเป็นลักษณะของ Articulate Robot หรือที่เรียกกันว่า แขนกล
จะเห็นได้ว่ามีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับของของมนุษย์
ซึ่งนั่นหมายความว่าหุ่นยนต์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการหยิบจับชิ้นงานในกระบวนการผลิต
แต่ในปัจจุบันนี้หุ่นยนต์ชนิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานให้มีความสามารถมากกว่าทำงานใช้หยิบจับชิ้นงาน
ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้ในกระบวนการงานเชื่อมโลหะต่างๆ งานพ่นสี หรืองาน Spot Gun และบางองค์กรยังมีการพัฒนาให้หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถทำงานในกระบวน
Machining อีกด้วย
จากตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานข้างต้น จะเห็นได้ว่าหุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้งานทดคนนั่นเป็นเรื่องจริงเลยทีเดียว
ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์เพื่อนำมาทำงานทดแทนคนก็เพราะหุ่นยนต์มีสิ่งที่ไม่เหมือนคน
ดังนี้
- หุ่นยนต์มีความแม่นยำและความเที่ยงตรงในการทำงาน
- หุ่นยนต์มีความสามารถในการทำงานในกระบวนซ้ำๆ
ได้ดีกว่า
- หุ่นยนต์สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการทำงานได้หลากหลาย
- หุ่นยนต์สามารถประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม
จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นข้อดีของหุ่นยนต์ที่จะถูกนำมาใช้งานทดแทนคน
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะดีไม่กว่าคนเสียทั้งหมด
แน่นอนว่าหุ่นยนต์ก็คือเหล็กที่ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกันและใส่กลไกต่างๆ
ให้สามารถเคลื่อนที่ได้ อีกทั้ง ยังต้องมีระบบในการควบคุบการทำงาน ดังนั้น
การที่หุ่นยนต์จะทำงานหรือเคลื่อนที่ได้จะต้องอาศัยทักษะและความรู้จากคนอยู่ดี
ทั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่ในการป้อนโปรแกรมคำสั่งต่างๆ
เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ตามที่มนุษย์ต้องการ
เราจึงต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์
ในตอนแรกนี้ผู้เขียนขอทิ้งท้าย ให้ทุกท่านทราบเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์กันไว้เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมในเรื่องต่อไปในตอนหน้า สำหรับองค์ประกอบของระบบในการควบคุมหุ่นยนต์ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก คือ
ด้วยเทคโนโลยีที่มีความหลากหลาย
หุ่นยนต์ได้กระจายไปอยู่ในแทบทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย โรงเรียน
หรือแม้แต่บ้านของเราเอง
และแน่นอนว่าสถานที่ที่มีการใช้นวัตกรรมหุ่นยนต์มากที่สุดก็หนีไม่พ้นโรงงานอุตสาหกรรม
ความสำคัญของนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เป็นหนึ่งในการส่งออกสำคัญ
นั่นทำให้โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องการคนงานจำนวนมาก
ทว่าด้วยปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน
และงานบางประเภทมีการทำงานซ้ำซ้อนกัน หรืองานเสี่ยงและอันตราย
นวัตกรรมหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานอย่างต่อเนื่อง มีความแม่นยำ และรวดเร็วกว่ามนุษย์
อีกทั้งยังอดทนต่อสภาพแวดล้อม จึงถูกนำมาใช้แทนที่ และให้มนุษย์เป็นผู้ควบคุมแทน
ซึ่งในปัจจุบันเม็ดเงินลงทุนในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์ยังเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งการสั่งซื้อหุ่นยนต์และการจัดจ้างบุคลากร
สอดคล้องกับความต้องการในตลาดที่เพิ่มกำลังการผลิต
รวมถึงบำรุงรักษาหุ่นยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
ยิ่งนวัตกรรมหุ่นยนต์ใหม่ๆ ออกมามากเท่าไหร่ ก็เป็นการเพิ่มความหลากหลายให้การทำงานและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการผลิตชิ้นงานได้หลากหลายและรวดเร็วขึ้นเท่านั้น เช่น ระบบออโตเมชั่นในหุ่นรุ่นใหม่ๆ ระบบ IoT ที่ทำให้หุ่นยนต์หลายตัวทำงานชนิดเดียวกันได้ด้วยการสั่งการจากคนเพียงคนเดียว นวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงาน
ไม่ว่าจะโรงงานใหญ่หรือเล็ก
ถ้าหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนในระยะยาว
อย่างไรก็หนีไม่พ้นการใช้หุ่นยนต์ ซึ่งนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงงานจะมีดังนี้
1. หุ่นยนต์อเนกประสงค์
หุ่นยนต์อเนกประสงค์ในโรงงานโดยส่วนมากจะถูกพัฒนามาเป็น
“แขน” หุ่นยนต์เป็นหลัก ทั้งเพื่อหยิบจับส่งต่องานได้อย่างไหลลื่นแล้ว
ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เพื่อทำงานอื่นๆ เช่น การประกอบชิ้นงานละเอียด
งานตรวจสอบต่างๆ
โดยทั่วไปแล้วหุ่นยนต์อเนกประสงค์จะถูกสร้างมาเพื่อสามารถใช้งานในพื้นที่จำกัดได้ดี น้ำหนักเบา ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่นหุ่นยนต์ Nachi MZ07 ที่ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย และทำงานได้รวดเร็ว ยืดหยึ่น ตัวเครื่องป้องกันฝุ่นและหยดน้ำเหมาะสำหรับการทำงานในพื้นที่แคบ ยิ่งไปกว่านั้นยังรองรับการทำงานระบบ Automation ทำให้ง่ายต่อการออกคำสั่งแม้ว่าจะเป็นงานละเอียดขนาดไหนก็ตาม
2.หุ่นยนต์เชื่อม
หนึ่งในหุ่นยนต์สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตของไทย
เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์มีการใช้หุ่นยนต์ประเภทนี้สูง
โดยหุ่นยนต์เชื่อมจะมีลักษณะเป็นแขนหุ่นที่มีส่วนปลายเป็นหัวเชื่อมเหล็ก
มักทำงานร่วมกับระบบสายพานที่คอยส่งวัสดุเข้ามาในระยะ
แขนหุ่นจะทำการเชื่อมวัสดุตามจุดต่างๆ โดยอัตโนมัติตามที่มีการตั้งค่าไว้
ซึ่งสามารถทำได้แม่นยำมากกว่ามนุษย์
ตัวอย่างเช่น Fanuc
ARC Welding Robot ที่มีการออกแบบมาเพื่อการเชื่อมไฟฟ้าโดยเฉพาะ
ซึ่งสามารถรับน้ำหน้กได้ถึง 20 กก.
และมีระยะเอื้อม 2 เมตร
ใช้ได้ทั้งการเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมเลเซอร์ บัดกรี หรืองานตัดประเภทต่างๆ
3.หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าและวัสดุ
หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าเป็นหุ่นยนต์ที่นิยมใช้ทั้งในโรงงานอุตสาหกรรม
รวมถึงโกดังต่างๆ โดยเฉพาะ Amazon และ Alibaba
ที่มีการพัฒนาหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าในโรงงานของตนเอง
แทนที่จะใช้มนุษย์ในการทำงาน
ซึ่งหุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าเองก็มีการงานหลากหลายรูปแบบ
แตกต่างกันตามโรงงานและโกดังต่างๆ โดยมีหน้าที่หลักคือ
- จัดเรียงสินค้าลงกล่อง
- จัดทำ Packaging สินค้า
- จัดเรียงกล่องสินค้าลงบนพาเลท
- ยกพาเลทไปตามจุดต่างๆของโรงงาน
- ขนส่งวัสดุต่างๆในโรงงาน
แน่นอนว่าหุ่นยนต์ประเภทนี้หลายรุ่นจะสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระในพื้นที่ทำงานของตัวเอง
เพื่อส่งต่อวัสดุหรือชิ้นงานให้กับมนุษย์หรือหุ่นยนต์ตัวอื่นๆ
นอกเหนือจากการเคลื่อนที่บนพื้นแล้ว ยังมีความคิดที่จะพัฒนาหุ่นยนต์ในรูปแบบโดรน
ขึ้นเพื่อทำการขนส่งสินค้าในโรงงานด้วยการบินอีกด้วย
4.หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัย
ยิ่งอุตสาหกรรมพัฒนามากขึ้น
ความปลอดภัยก็ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นตาม
งานหลายงานมีความเสี่ยงเกินกว่าจะให้มนุษย์ดำเนินการหรืออยู่ในจุดที่คนทั่วไปยากจะเข้าถึง
ด้วยเหตุผลเหล่านั้นทำให้หุ่นยนต์ตรวจสอบความปลอดภัยโรงงานเข้ามามีบทบาท เช่น
- ตรวจสอบสารพิษที่รั่วไหลในโรงงาน
เนื่องจากหุ่นยนต์สามารถเข้าไปในที่ๆ คนเข้าไม่ถึงโดยไม่ต้องสวมชุดป้องกันได้
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
ด้วยอินฟาเรดหรืออุปกรณ์ตรวจจับอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีไฟฟ้ารั่วไหล
- ตรวจสอบปล่องควันหรือจุดที่อยู่สูง
ทำให้ไม่ต้องมีการปิดโรงงานทั้งโรงเพื่อซ่อมบำรุง
- ตรวจสอบวัสดุในโรงงาน เช่น
หุ่นยนต์ตรวจสอบความหนาของถังสารเคมี
ซึ่งหุ่นยนต์ทั้งหมดก็มีตั้งแต่ทำงานแบบอัตโนมัติ
ไปจนถึงทำงานโดยมีคนควบคุมอยู่เบื้องหลัง
5.หุ่นยนต์ขึ้นรูปพลาสติก
หุ่นยนต์ขึ้นรูปพลาสติกมีหน้าที่ในการหยิบจับ
ฉีดขึ้นรูปพลาสติกตามการใช้งาน
ให้ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ท่อพลาสติก
ชิ้นส่วนอุปกรณ์ ไปจนถึงภาชนะ จาน ชาม ช้อน ส้อม
นอกจากจะสามารถทำงานทุกอย่างได้แบบอัตโนมัติตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการแล้ว
การใช้หุ่นยนต์เพื่อขึ้นรูปพลาสติกยังมีความแม่นยำและสามารถทำงานละเอียดอ่อนได้เหนือกว่ามนุษย์ปกติ
ซึ่งการติดตั้งหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมนี้จะใช้พื้นที่น้อย และอยู่กับที่
เน้นด้านการใช้สายพานหรือแขนจับเพื่อส่งวัสดุเข้า-ออก มากกว่า
อนาคตของนวัตกรรมหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม
มนุษย์พัฒนาการผลิตรูปแบบต่างๆ
มาเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่การผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ด้วยมือ สร้างสายพาน
จนถึงปัจจุบันที่ดำเนินการผลิตส่วนใหญ่ด้วยหุ่นยนต์
นวัตกรรมที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้มีเพื่อแย่งงานของมนุษย์ แต่เป็นการส่งเสริมให้มนุษย์ทำงานสะดวกขึ้น
และเน้นการทำงานด้วยวิธีการที่ง่ายดายมากขึ้น
คงสามารถบอกได้ว่าหุ่นยนต์ในปัจจุบันยังคงเป็นเพียงก้าวแรกก้าวเล็กๆของการทำงานของมนุษยชาติเท่านั้น
แต่ก็ถือเป็นก้าวที่สำคัญยิ่งของอุตสาหกรรมการผลิต
มนุษย์กำลังก้าวเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่
ที่เข้าสู่ระบบอัตโนมัติอย่างสมบูรณ์ในไม่ช้า
หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับหุ่นยนต์รุ่นต่างๆ
หรืออุปกรณ์ทางวิศวกรรมที่ใช้ในโรงงาน คุณสามารถติดต่อเราได้ เราพร้อมให้บริการอย่างเต็มที่โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์
เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. เป็นหน่วยงานในการกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดำเนินการตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 โดยเป็นหน่วยงานที่สามารถดำเนินการด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศได้อย่างครบวงจร ตั้งแต่ขั้นการวิจัยพัฒนา จนถึงขั้นการผลิตและจำหน่าย เพื่อตอบสนองนโยบาย Thailand 4.0 และการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ 11 (S - Curve 11) ของรัฐบาล เป็นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” ด้วยการผลิตยุทโธปกรณ์ภายในประเทศ ทำให้สามารถประหยัดงบประมาณและลดการพึ่งพาจากต่างประเทศ
สทป.
ได้กำหนดเทคโนโลยีเป้าหมาย 5 ด้าน
ได้แก่ 1) เทคโนโลยียานไร้คนขับ
2) เทคโนโลยียานรบและระบบอาวุธ
3) เทคโนโลยีการจำลองยุทธ์และการฝึกเสมือนจริง
4) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางทหาร
และ 5) เทคโนโลยีจรวดและอาวุธนำวิถี
สทป. ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาด้านหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด จำนวน 4 โครงการย่อย แบ่งเป็นการวิจัยพื้นฐาน (Basic
Research) จำนวน 1
โครงการ และการวิจัยและพัฒนาต้นแบบ
จำนวน 3 โครงการ
ซึ่งสอดคล้องตามแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานไร้คนขับ ดังนี้
โครงการที่ 1
การวิจัยพื้นฐานหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด
โครงการที่ 2
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก
(D-EMPIR)
โครงการที่ 3
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดกลาง
(D-MER)
โครงการที่ 4
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดพกพา
(NOONAR)
ADVERTISEMENT
สทป. ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดในรูปแบบการบูรณาการความร่วมมือจากทั้งสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม เพื่อบูรณาการขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดให้สามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ที่ได้ลงนามร่วมกัน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2560 ในกรอบระยะเวลา 4 ปี สิ้นสุดในปี 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า เพิ่มเติมอีก 3 ปี จนถึงปี 2565 การดำเนินการที่สำคัญ
โครงการที่ 1
การวิจัยพื้นฐานหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด
โครงการที่ 2
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก
(D-EMPIR)
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก
(D-EMPIR) ได้ถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบา
เจ้าหน้าที่สามารถพกพาไปปฏิบัติงานได้สะดวก เหมาะกับการใช้งานในระดับยุทธวิธี
การพิสูจน์ทราบ ลาดตระเวนตรวจการณ์ และสำรวจพื้นที่เป้าหมาย ง่ายต่อการใช้งาน
สามารถปฏิบัติงานต่อเนื่อง 1-2 ชั่วโมง
คงทนต่อสภาพแวดล้อม รองรับด้วยมาตรฐานสากล สามารถปีนและไต่ทางลาดชันได้ไม่น้อยกว่า
35 องศา
ควบคุมและสามารถสั่งการแบบไร้สายระยะไกล 200 เมตร รองรับการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ช่วยในการสนับสนุนภารกิจที่หลากหลาย
เช่น ปืนยิงทำลายวงจรวัตถุระเบิด ระบบเอกซ์เรย์วัตถุระเบิด ปัจจุบัน สทป.
ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (มทม.)
ในการพัฒนาปรับปรุงหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก (D-EMPIR) จนมีสมรรถนะที่เพียงพอและสามารถตอบสนองความต้องการได้
ในระดับความพึงพอใจ ดีมาก
โครงการที่ 4
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดพกพา
(NOONAR)
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดพกพา
รุ่นหนูนา (NOONAR) มีวัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนภารกิจการตรวจค้นและการพิสูจน์ทราบ
โดยมีการออกแบบและพัฒนาบนแนวคิดที่มุ่งเน้นให้หุ่นยนต์ มีขนาดเล็ก เพื่อความสะดวกต่อการพกพาไปกับหน่วยดำเนินกลยุทธ์
ดังนั้น หุ่นยนต์รุ่นนี้จึงมีความคล่องตัวและ มีความทนทานสูง
เนื่องจากผลิตด้วยวัสดุคอมโพสิตที่รองรับแรงกระแทกจากการตกจากที่สูงได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งยังมีคุณสมบัติและขีดความสามารถเทียบเคียงกับผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ แต่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า
โดยที่มีระบบ การส่งกำลังบำรุงแบบครบวงจรทั้งหมดภายในประเทศ
รวมถึงสามารถนำไปต่อยอดสู่การผลิตในขั้นอุตสาหกรรมได้
ซึ่งโครงการนี้เป็นการดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กับ สทป.
การสร้างความเชื่อมั่นและยืนยันศักยภาพด้วยมาตรฐานและการทดสอบหุ่นยนต์
ของ สทป.
1 สทป.
มีส่วนงานควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการทดสอบมาตรฐานซึ่งเทียบเคียงกับต่างประเทศเพื่อยืนยันคุณภาพและความปลอดภัยก่อนการนำไปใช้งาน
ควบคุมคุณภาพชิ้นส่วนย่อยที่สร้างขึ้นโดยผู้ผลิต/ผู้รับจ้างจากภายนอก
รวมไปถึงการทดสอบและการตรวจตามขอบข่ายหน่วยตรวจตามมาตรฐาน ISO/IEC 17020 (มาตรฐานข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจ)
ตัดสินผลการตรวจสอบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดและรับรองผลในรายการชิ้นส่วนอุปกรณ์ต้นแบบยุทโธปกรณ์และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศโดยจัดทำรายงานผลการตรวจ
หรือใบรับรองผลการตรวจให้แก่หน่วยงานภายในและภายนอก ตามที่ได้รับการรับรอง
3. การทดสอบและประเมินผลหุ่นยนต์ตรวจการณ์โดยหน่วยผู้ใช้
เพื่อทำการทดสอบและประเมินผลหุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดเล็ก โดยมีหน่วยผู้ใช้งาน 12
หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภายใต้
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า,
กรมสรรพาวุธของเหล่าทัพ, กลุ่มงานเก็บกู้วัตถุระเบิดกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในการนี้หน่วยงานผู้ใช้ได้ร่วมทดสอบสมรรถนะการใช้งานหุ่นยนต์และรับทราบขีดความสามารถด้านการสนับสนุนการซ่อมบำรุง
รวมถึงมาตรฐานการทดสอบ
ทั้งนี้หน่วยผู้ใช้มีความต้องการนำหุ่นยนต์ไปประยุกต์ใช้งานตามภารกิจของแต่ละหน่วย
และให้ความสนใจขีดความสามารถด้านการซ่อมบำรุงของ สทป.
ปัจจุบัน สทป.
อยู่ระหว่างการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาปรับปรุงต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดให้มีสมรรถนะสูงเพียงพอสำหรับการใช้งานในภารกิจตรวจการณ์เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดของหน่วยงานในประเทศ
เน้นภารกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสำคัญ โดย สทป.
ยังคงต้องวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศที่เป็นโครงการเดิมควบคู่ไปกับการดำเนินการโครงการใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
พ.ศ. 2562 ในลักษณะของการบูรณาการและเป็นเทคโนโลยี
2 ทางที่ใช้งานได้ทั้งทหารและพลเรือน
งานในโครงการใดที่สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้จะนำมาพิจารณาดำเนินการ
โดยเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยในด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่นอกจากจะทำให้กองทัพไทยพึ่งพาตนเองได้แล้ว
ยังเป็นอุตสาหกรรมที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ประเทศไทยในอนาคตอีกด้วย
สทป.
ได้กำหนดเทคโนโลยีเป้าหมาย 5 ด้าน
ได้แก่ 1) เทคโนโลยียานไร้คนขับ
2) เทคโนโลยียานรบและระบบอาวุธ
3) เทคโนโลยีการจำลองยุทธ์และการฝึกเสมือนจริง
4) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางทหาร
และ 5) เทคโนโลยีจรวดและอาวุธนำวิถี
สทป. ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาด้านหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด จำนวน 4 โครงการย่อย แบ่งเป็นการวิจัยพื้นฐาน (Basic
Research) จำนวน 1
โครงการ และการวิจัยและพัฒนาต้นแบบ
จำนวน 3 โครงการ
ซึ่งสอดคล้องตามแผนแม่บทการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานไร้คนขับ ดังนี้
โครงการที่ 1
การวิจัยพื้นฐานหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด
โครงการที่ 2
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก
(D-EMPIR)
โครงการที่ 3
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดกลาง
(D-MER)
โครงการที่ 4
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดพกพา
(NOONAR)
ADVERTISEMENT
สทป.
ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดในรูปแบบการบูรณาการความร่วมมือจากทั้งสถาบันการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม
เพื่อบูรณาการขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดให้สามารถตอบสนองภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน เพื่อให้สอดคล้องตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค
4 ส่วนหน้า
(กอ.รมน.ภาค 4 สน.)
ที่ได้ลงนามร่วมกัน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม
2560 ในกรอบระยะเวลา
4 ปี สิ้นสุดในปี
2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค
4 ส่วนหน้า
เพิ่มเติมอีก 3 ปี จนถึงปี 2565
การดำเนินการที่สำคัญ
โครงการที่ 1
การวิจัยพื้นฐานหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด
โครงการที่ 2
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก
(D-EMPIR)
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก
(D-EMPIR) ได้ถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบา
เจ้าหน้าที่สามารถพกพาไปปฏิบัติงานได้สะดวก เหมาะกับการใช้งานในระดับยุทธวิธี
การพิสูจน์ทราบ ลาดตระเวนตรวจการณ์ และสำรวจพื้นที่เป้าหมาย ง่ายต่อการใช้งาน
สามารถปฏิบัติงานต่อเนื่อง 1-2 ชั่วโมง
คงทนต่อสภาพแวดล้อม รองรับด้วยมาตรฐานสากล สามารถปีนและไต่ทางลาดชันได้ไม่น้อยกว่า
35 องศา
ควบคุมและสามารถสั่งการแบบไร้สายระยะไกล 200 เมตร รองรับการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ช่วยในการสนับสนุนภารกิจที่หลากหลาย
เช่น ปืนยิงทำลายวงจรวัตถุระเบิด ระบบเอกซ์เรย์วัตถุระเบิด ปัจจุบัน สทป.
ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (มทม.)
ในการพัฒนาปรับปรุงหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดเล็ก (D-EMPIR) จนมีสมรรถนะที่เพียงพอและสามารถตอบสนองความต้องการได้
ในระดับความพึงพอใจ ดีมาก
โครงการที่ 4
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดพกพา
(NOONAR)
การวิจัยและพัฒนาต้นแบบหุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดพกพา
รุ่นหนูนา (NOONAR) มีวัตถุประสงค์
เพื่อสนับสนุนภารกิจการตรวจค้นและการพิสูจน์ทราบ
โดยมีการออกแบบและพัฒนาบนแนวคิดที่มุ่งเน้นให้หุ่นยนต์ มีขนาดเล็ก เพื่อความสะดวกต่อการพกพาไปกับหน่วยดำเนินกลยุทธ์
ดังนั้น หุ่นยนต์รุ่นนี้จึงมีความคล่องตัวและ มีความทนทานสูง
เนื่องจากผลิตด้วยวัสดุคอมโพสิตที่รองรับแรงกระแทกจากการตกจากที่สูงได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งยังมีคุณสมบัติและขีดความสามารถเทียบเคียงกับผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ แต่มีต้นทุนที่ต่ำกว่า
โดยที่มีระบบ การส่งกำลังบำรุงแบบครบวงจรทั้งหมดภายในประเทศ
รวมถึงสามารถนำไปต่อยอดสู่การผลิตในขั้นอุตสาหกรรมได้
ซึ่งโครงการนี้เป็นการดำเนินการภายใต้กรอบความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
กับ สทป.
การสร้างความเชื่อมั่นและยืนยันศักยภาพด้วยมาตรฐานและการทดสอบหุ่นยนต์
ของ สทป.\
1 สทป.
มีส่วนงานควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการทดสอบมาตรฐานซึ่งเทียบเคียงกับต่างประเทศเพื่อยืนยันคุณภาพและความปลอดภัยก่อนการนำไปใช้งาน
ควบคุมคุณภาพชิ้นส่วนย่อยที่สร้างขึ้นโดยผู้ผลิต/ผู้รับจ้างจากภายนอก
รวมไปถึงการทดสอบและการตรวจตามขอบข่ายหน่วยตรวจตามมาตรฐาน ISO/IEC 17020 (มาตรฐานข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจ)
ตัดสินผลการตรวจสอบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดและรับรองผลในรายการชิ้นส่วนอุปกรณ์ต้นแบบยุทโธปกรณ์และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศโดยจัดทำรายงานผลการตรวจ
หรือใบรับรองผลการตรวจให้แก่หน่วยงานภายในและภายนอก ตามที่ได้รับการรับรอง
3. การทดสอบและประเมินผลหุ่นยนต์ตรวจการณ์โดยหน่วยผู้ใช้
เพื่อทำการทดสอบและประเมินผลหุ่นยนต์ตรวจการณ์ขนาดเล็ก โดยมีหน่วยผู้ใช้งาน 12
หน่วยงาน ประกอบด้วย หน่วยงานภายใต้
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า,
กรมสรรพาวุธของเหล่าทัพ, กลุ่มงานเก็บกู้วัตถุระเบิดกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ
และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ในการนี้หน่วยงานผู้ใช้ได้ร่วมทดสอบสมรรถนะการใช้งานหุ่นยนต์และรับทราบขีดความสามารถด้านการสนับสนุนการซ่อมบำรุง
รวมถึงมาตรฐานการทดสอบ
ทั้งนี้หน่วยผู้ใช้มีความต้องการนำหุ่นยนต์ไปประยุกต์ใช้งานตามภารกิจของแต่ละหน่วย
และให้ความสนใจขีดความสามารถด้านการซ่อมบำรุงของ สทป.
ปัจจุบัน สทป.
อยู่ระหว่างการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาปรับปรุงต้นแบบหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดให้มีสมรรถนะสูงเพียงพอสำหรับการใช้งานในภารกิจตรวจการณ์เก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิดของหน่วยงานในประเทศ
เน้นภารกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นสำคัญ โดย สทป.
ยังคงต้องวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศที่เป็นโครงการเดิมควบคู่ไปกับการดำเนินการโครงการใหม่ภายใต้พระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
พ.ศ. 2562 ในลักษณะของการบูรณาการและเป็นเทคโนโลยี
2 ทางที่ใช้งานได้ทั้งทหารและพลเรือน
งานในโครงการใดที่สามารถต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้จะนำมาพิจารณาดำเนินการ
โดยเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทยในด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่นอกจากจะทำให้กองทัพไทยพึ่งพาตนเองได้แล้ว
ยังเป็นอุตสาหกรรมที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ประเทศไทยในอนาคตอีกด้วย